TH EN

How To วิธีทำธุรกรรมออนไลน์อย่างปลอดภัย ป้องกันเงินหายไม่รู้ตัว

                            

โพสต์เมื่อ 10 ตุลาคม 2566 | บทความโดย : TISCO

 

            ในยุคที่ทุกคนต่างมีสมาร์ทโฟนติดตัวตลอดเวลา และขอแค่ให้มีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เราก็สามารถทำหลายสิ่งหลายอย่างบนหน้าจอสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าฝ่ามือได้ เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ เราต่างก็คุ้นเคยกับความสะดวกเพียงปลายนิ้ว และฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยให้การจัดการการเงินเป็นเรื่องง่าย คงไม่ต้องพูดถึงข้อดีของการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ เพราะทุกคนที่ใช้บริการคงรู้ดี แต่อยากให้กลับมาพิจารณาความสะดวก ความง่าย ของบริการการเงินออนไลน์ดูอีกครั้งว่า เราจะทำธุรกรรมการเงินออนไลน์อย่างไรให้ปลอดภัย เฝ้าระวังภัยจากความคุ้นชิน 

 

           

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจาก Official Store ของระบบปฏิบัติการเท่านั้น

            เป็นข้อควรระวังเบื้องต้น ที่ผู้ใช้งานควรให้ความสำคัญ ซึ่งผู้ที่ใช้งานระบบ iOS ควรดาวน์โหลดผ่าน App Store ส่วนผู้ใช้งานระบบ Android ควรดาวน์โหลดผ่าน Google Play Store เท่านั้น หลีกเลี่ยงการติดตั้ง แอพพลิเคชั่นที่ไม่รู้แหล่งที่มา ซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรมที่มีการทำงานแบบไม่พึงประสงค์ สอดไส้ฝังไวรัส มัลแวร์หรือสคริปท์ดักข้อมูลเอาไว้ในไฟล์ได้ ซึ่งตัวไวรัสหรือมัลแวร์ที่ว่านี้อาจจะไม่ได้ทำอันตรายกับเครื่องโดยตรง แต่เป็นการดูดเก็บข้อมูลในเครื่องไป ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ หรือรหัสพาสเวิร์ดต่างๆ

 

การทำธุรกรรมผ่านเว็บไซต์ ต้องสังเกตสัญลักษณ์ SSL Certificate ที่เป็นรูปกุญแจล็อค ตรงแถบ URL ทุกครั้ง

            ถ้าเราเป็นคนที่ชอบทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์วิธีที่ง่ายที่สุดในการสังเกตุเว็บไซต์มิจฉาชีพ คือ เว็บไซต์ที่เราใช้มีสัญลักษณ์ SSL Certificate ที่เป็นรูปกุญแจล็อคหรือไม่? หากพบว่ามีก็มั่นใจได้ในระดับหนึ่ง แต่เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เราต้อง “สะกดชื่อเว็บไซต์ให้ถูกต้อง” ตรงนี้แหละที่ทำให้หลายคนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพกันมาเยอะแล้ว เพราะเว็บไซต์ปลอมของมิจฉาชีพจะมีการใช้ตัวสะกดที่ใกล้เคียงกับเว็บไซต์จริง หากใครกำลังจะทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์จะต้องดูให้ละเอียดไม่อย่างนั้นอาจเสียเงินในบัญชีไปฟรี ๆ ก็ได้        

 

 

อัปเดตแอปพลิเคชันให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ

            เกราะป้องกันที่เราไม่ควรมองข้ามเลยก็คือการอัปเดตระบบปฏิบัติการ iOS หรือ Android ่อยู่เสมอ จะทำให้เราได้รับการแก้ไขปัญหาในการใช้งาน หรือได้ฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น และช่วยอัปเกรดความปลอดภัยในการใช้งานสมาร์ตโฟนให้ดีขึ้นอีก นอกจากนี้ถ้าอยากทำให้การทำธุรกรรมออนไลน์ปลอดภัยมากขึ้น เราก็ควรอัปเดตแอปพลิเคชันธนาคารให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาการถูกขโมยเงินได้อย่างดี 

 

 

เปลี่ยนรหัสผ่านทั้งรหัสปลดล็อคเครื่อง และรหัสของแอปพลิเคชันธนาคารอย่างน้อยทุก ๆ 3-6 เดือน

            เรื่องรหัสผ่านเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ใครหลายคนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมไปถึงการใช้ตัวเลขง่าย ๆ เช่น เลขวันเดือนปีเกิด หรือเลขท้ายเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งนั่นทำให้มิจฉาชีพสามารถคาดเดารหัสผ่านของเราได้ง่าย ๆ และส่วนใหญ่จะใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันในหลาย ๆ แอปพลิเคชัน ตัวอย่าง เช่น รหัสผ่านปลดล็อคสมาร์ตโฟน เป็นรหัสผ่านชุดเดียวกับแอปพลิเคชันธนาคาร วิธีป้องกันง่าย ๆ คือ เราต้องเปลี่ยนรหัสผ่านทั้งรหัสปลดล็อคเครื่อง และรหัสของแอปพลิเคชันธนาคารอย่างน้อยทุก ๆ 3-6 เดือน โดยใช้ชุดตัวเลขที่ไม่เหมือนกัน และอย่าใช้ตัวเลขจากข้อมูลส่วนตัวเพราะมิจฉาชีพสามารถล้วงข้อมูลส่วนตัวของเราได้จากโซเชียลมีเดียนั่นเอง

 

 

เปิดใช้ระบบยืนยันตัวตนแบบ OTP เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์

            OTP คือรหัสผ่านที่สร้างมาเพื่อเข้าใช้งานเพียงครั้งเดียว โดยจะส่งมาที่เบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลของเรา และรหัสผ่านชุดนี้จะมีเวลาการใช้งานแบบจำกัด หรือถ้ามีการใส่รหัสชุดนี้ผิดก็จะไม่สามารถเข้าใช้งานแอปพลิเคชันได้เลย ดังนั้นเพื่อการทำธุรกรรมออนไลน์อย่างปลอดภัย เราควรเปิดใช้ระบบยืนยันตัวตนแบบ OTP ด้วยเพราะต่อให้มิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามา แต่ถ้าไม่รู้รหัสผ่าน OTP ก็ไม่มีทางที่จะเข้าถึงบัญชีเงินฝากของเราได้เลย

 

 

เปิดใช้งานระบบ Biometric เมื่อเข้าสู่ระบบแอปพลิเคชันของธนาคาร

             การเพิ่มความปลอดภัยโดยการเพิ่มวิธีเข้าสู่ระบบแอปพลิเคชันด้วยการเปิดใช้งานระบบ Biometric ที่มีในสมาร์ตโฟนของเรา เช่น Face ID หรือ Fingerprint Scanner จะช่วยป้องกันได้อย่างดี เพราะระบบนี้ยากมากที่มิจฉาชีพจะเลียนแบบได้

 

 

#securitiesawareness #ทิสโก้ #TISCO

 

 


 

ติดตามข้อมูลข่าวสาร TISCO ช่องทางอื่น ๆ ได้แล้ววันนี้!

⭐ Facebook > https://www.facebook.com/TISCOFinancialGroup

⭐ LINE > https://lin.ee/1NQ6yvI

⭐ Twitter > https://twitter.com/TISCOAdvisory

⭐ Instagram > https://instagram.com/tisco_official

⭐ Youtube > https://www.youtube.com/@TISCOGroup

⭐ Website > www.tisco.co.th

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน