ลูกค้าบุคคล
ลูกค้า SME
ลูกค้าธุรกิจ
ลูกค้า Wealth
นักลงทุนสัมพันธ์
ทิสโก้ ไฟแนนเชียลกรุ๊ป
ค้นหาสาขา
TH
EN
เงินฝาก
เงินฝาก
ออมทรัพย์
บัญชีเงินฝากพื้นฐาน
ออมทรัพย์พิเศษ
ซุปเปอร์ออมทรัพย์
ออมทรัพย์ TISCO My Savings
ออมทรัพย์ไดมอนด์
ออมทรัพย์บลูไดมอนด์
กระแสรายวัน
กระแสรายวันพิเศษ
ฝากประจำ
ปลอดภาษี
ลงทุน
ลงทุน
ซื้อขายหลักทรัพย์
ซื้อขายอนุพันธ์
ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ
กองทุนรวมธนาคารทิสโก้
กองทุนรวม บลจ.ทิสโก้
ลงทุน SSF / RMF บลจ.ทิสโก้
สินเชื่อ
สินเชื่อ
สินเชื่อบ้าน
สินเชื่อบ้านแลกเงิน
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านแลกเงิน
สมหวัง โฉนดแลกเงิน
สินเชื่อรถใหม่
สินเชื่อรถมือสอง
สินเชื่อทะเบียนรถ
สินเชื่อเพื่อข้าราชการบำนาญ
ประกัน
ประกัน
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ (ลดหย่อนภาษี)
ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
ประกันรถยนต์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
ประกันภัยเพื่อที่อยู่อาศัย
ประกันตามไลฟ์สไตล์
ชำระเบี้ยประกันภัย
บริการ
บริการธนาคาร
บริการทิสโก้พร้อมเพย์
บัตร ATM TISCO
บริการ TISCO Alert
TISCO My Wealth
บริการ LINE Official
TISCO My Car
บริการรับชำระเงิน
บริการชำระบิลข้ามธนาคาร
ประกาศขายทรัพย์สิน
ประมูลรถยนต์
e-Service
e-Service
e-Statement
e-Cash Management
e-Invest
e-Trade
e-Provident Fund
Corporate File Transfer
หน้าแรก
เงินฝาก
เงินฝากออมทรัพย์
ออมทรัพย์
ออมทรัพย์บัญชีเงินฝากพื้นฐาน
ออมทรัพย์พิเศษ
ซุปเปอร์ออมทรัพย์
ออมทรัพย์ TISCO My Savings
ออมทรัพย์ไดมอนด์
ออมทรัพย์บลูไดมอนด์
เงินฝากกระแสรายวัน
กระแสรายวัน
กระแสรายวันพิเศษ
เงินฝากประจำ
ฝากประจำ
ปลอดภาษี
ลงทุน
หลักทรัพย์
ซื้อขายหลักทรัพย์
ซื้อขายอนุพันธ์
ซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ
กองทุน
กองทุนรวมธนาคารทิสโก้
กองทุนรวม บลจ.ทิสโก้
SSF / RMF บลจ.ทิสโก้
สินเชื่อ
สินเชื่อบ้าน
สินเชื่อบ้าน
สินเชื่อบ้านแลกเงิน
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน
สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านแลกเงิน
สินเชื่อรถ
สินเชื่อรถใหม่
สินเชื่อรถมือสอง
สินเชื่อทะเบียนรถ
สินเชื่ออื่นๆ
สินเชื่อเพื่อข้าราชการบำนาญ
ประกัน
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ (ลดหย่อนภาษี)
ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง
ประกันรถยนต์
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
ประกันภัยเพื่อที่อยู่อาศัย
ประกันตามไลฟ์สไตล์
ชำระเบี้ยประกันภัย
บริการธนาคาร
บริการทิสโก้พร้อมเพย์
บัตร ATM TISCO
บริการ TISCO Alert
TISCO My Wealth
TISCO My Car
บริการรับชำระเงิน
บริการชำระบิลข้ามธนาคาร
ประกาศขายทรัพย์สิน
ประมูลรถยนต์
e-Service
e-Statement
e-Cash Management
Corporate File Transfer
ลูกค้า SME
ลูกค้าธุรกิจ
ลูกค้า Wealth
ลูกค้า Wealth
นักลงทุนสัมพันธ์
ทิสโก้ ไฟแนนเชียลกรุ๊ป
ค้นหาสาขา
TH
EN
TISCO Advisory
Check List รายการลดหย่อนภาษี 2566
โพสต์เมื่อ 18 ตุลาคม 2566 | บทความโดย : TISCO
การวางแผนลดหย่อนภาษี เป็นวิธีที่จะทำให้เราได้เงินภาษีคืน และประหยัดเงินในกระเป๋าของตัวเองได้มากขึ้น วิธีลดหย่อนภาษีที่เราเลือกก็ถือเป็นผลประโยชน์กับตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวม การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งการซื้อสินค้าต่าง ๆ ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
รายการลดหย่อนภาษีตามที่กฎหมายกำหนดในแต่ละปีจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่ได้ให้การสนับสนุน และกระตุ้นให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในเรื่องการลงทุนมากขึ้น ดังนั้นในแต่ละปีจะต้องตรวจเช็กว่า มีรายการลดหย่อนภาษีอะไรบ้างที่สามารถนำมาลดหย่อนได้
ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
• ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
• ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ (ได้สูงสุด 1 คน)
• ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท (ทั้งนี้การตั้งครรภ์ลูกแฝดจะนับว่าเป็นครรภ์เดียว) หากทั้งสามีและภรรยายื่นภาษีทั้งคู่ จะให้สิทธิลดหย่อนนี้แก่ภรรยาเท่านั้น โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้
• ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
◦ กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรจริง
◦ กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน
◦ กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม: ให้ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน และหากบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 4 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมอยู่ในคนที่ 1-3 สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้
• ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน กล่าวคือ สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท (และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม) โดยบิดามารดาจะต้องมาอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้
• ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ
ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพลภาพเป็นบิดามารดา บุตร หรือคู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน ตัวอย่างเช่น คู่สมรสไม่มีรายได้และเป็นผู้พิการ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท (ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท และค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000 บาท)
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน และการลงทุน
• เงินประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
• เบี้ย
ประกันชีวิต
และประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และถ้าหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
• เบี้ย
ประกันสุขภาพ
และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
• เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
• กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
• กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
• กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
• กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
• กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
• เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
• เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
• เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
• เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561 เป็นต้นไป
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
• โครงการช้อปดีมีคืน 2566 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามที่จ่ายจริง โดย 30,000 บาทแรกเป็นค่าซื้อสินค้าและบริการที่มีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ และอีก 10,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น สินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)
• ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด และอาคาร เป็นต้น สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
การวางแผนเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีก็เป็นการวางแผนทางการเงินอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในหมวดหมู่ของภาษี และเพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ หรือการลงทุนเพื่อผลตอบแทนในอนาคต การวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรัดกุมและเป็นระบบมากขึ้น และไม่ได้ส่งผลในเรื่องของการเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังส่งผลต่อการวางแผนชีวิตของตัวเราเองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การลงทุนเพื่อวัยเกษียณ การออมเพื่ออนาคต การซื้อที่อยู่อาศัย เป็นต้น ดังนั้น หากยิ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีมากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองมากขึ้นเท่านั้น
#fingood #Financialliteracy #TISCO #ทิสโก้
ติดตามข้อมูลข่าวสาร TISCO ช่องทางอื่น ๆ ได้แล้ววันนี้!
⭐ Facebook >
https://www.facebook.com/TISCOFinancialGroup
⭐ LINE >
https://lin.ee/1NQ6yvI
⭐ Twitter >
https://twitter.com/TISCOAdvisory
⭐ Instagram >
https://instagram.com/tisco_official
⭐ Youtube >
https://www.youtube.com/@TISCOGroup
⭐ Website >
www.tisco.co.th
© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน
ประกาศความเป็นส่วนตัว
|
คำสงวนสิทธิ์
|
แผนผังเว็บไซต์