ความรับผิดชอบต่อสังคม
1. การให้ความรู้ทางการเงิน
กลุ่มลูกค้ารายย่อย
1.1 รู้ไว้เข้าใจหนี้

กิจกรรมให้ความรู้แก่ลูกค้าสินเชื่อรายย่อยและประชาชนที่สนใจผลิตภัณฑ์เงินกู้ ซึ่งพัฒนามาจากโปรแกรมรู้ทันภัยการเงินตั้งแต่ปี 2562 และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ในหัวข้อต่างๆ เช่น ความแตกต่างระหว่างหนี้ในระบบและนอกระบบ การวางแผนและทำความเข้าใจตนเองก่อนการก่อหนี้ วิธีการคำนวณดอกเบี้ย รวมถึงเทคนิคการปลดหนี้แบบถูกวิธี โดยเจ้าหน้าที่การตลาดประจำสาขาเป็นผู้ให้คำแนะนำแบบตัวต่อตัว พร้อมมอบของที่ระลึกให้แก่ลูกค้าที่ทำแบบทดสอบได้ครบถ้วนและถูกต้อง โดยในปี 2567 มีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 247,054 คน นอกจากนี้ และยังจัดทำในรูปแบบออนไลน์ เผยแพร่ผ่านทางไลน์ เฟสบุค เว็บไซต์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนทั่วไปอีกด้วย
1.2 ฉลาดเก็บฉลาดใช้


1.3 การให้ความรู้ทางการเงินแก่ชุมชนและสังคม

กลุ่มทิสโก้เชื่อว่าโอกาสสร้างได้ และการสร้าง “อนาคตที่ยั่งยืน” เริ่มต้นจากการวางแผนทางการเงินที่ดี จึงเดินหน้าสนับสนุนและถ่ายทอดความรู้ทางการเงินแก่ประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายคืออยากเห็นคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และอยู่ได้อย่างมั่นคงในสังคม โดยไม่มีปัจจัยปัญหาทางการเงินมาทำให้ชีวิตต้องกระเบียดกระเสียร ซึ่งนั่นย่อมสะท้อนถึงความยั่งยืนของสังคมไทย
กลุ่มคนรุ่นใหม่
1.4 ค่ายการเงินสมหวังสร้างโอกาส

กิจกรรมให้ความรู้การเงินแก่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน เพื่อสร้างทักษะการวางแผนด้านการเงินที่จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในบริหารจัดการการเงินได้อย่างถูกต้องเหมาะสม พร้อมมอบประสบการณ์ฝึกงานในธุรกิจสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ (Micro Finance) ร่วมเรียนรู้ ฝึกฝน ค้นหาอาชีพ ที่เหมาะสมกับตนเอง และเปิดโอกาสให้สมัครเข้าร่วมทำงานกับ “สมหวัง เงินสั่งได้” ของบริษัท ไฮเวย์ จำกัด ประจำสาขาใกล้บ้าน ซึ่งนอกจากเป็นการสร้างผู้ให้บริการสินเชื่อมืออาชีพที่จะเป็นกำลังสำคัญของบริษัทในอนาคตแล้ว ยังเป็นการสร้างผู้ถ่ายทอดความรู้ทางการเงินไปยังคนในชุมชน ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งควบคู่กันไป สำหรับปี 2567 ค่ายสมหวัง สร้างโอกาส ยังคงได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง มีคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจวางแผนทางการเงินสนใจสมัครเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งในรุ่นที่ 4 มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าจากรุ่นแรก มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 73 คน ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าคนไทยจะมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น เข้าใจเรื่องเงิน และสามารถบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันหากจบหลักสูตรแล้วทุกคนยังสามารถสมัครเข้าร่วมงานกับ สมหวัง เงินสั่งได้ สาขาใกล้บ้านได้อีกด้วย
กลุ่มเยาวชน
1.5 ชมรมเครือข่ายค่ายการเงินทิสโก้
กลุ่มทิสโก้ยังคงมุ่งมั่นสานต่อเจตนารมณ์ด้วยการสนับสนุนโรงเรียนที่เคยผ่านกิจกรรมค่ายการเงินเยาวชนของทิสโก้ ร่วมส่งต่อความรู้สู่ชุมชน เพื่อสร้างความต่อเนื่อง โดยเชิญชวนโรงเรียนร่วมจัดตั้งชมรม/ชุมนุมวางแผนการเงิน ทำหน้าที่รณรงค์สร้างวินัยทางการเงิน กระตุ้นให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการเก็บออม การบันทึกบัญชีรับจ่าย เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้ทุกคนทุกครอบครัวรอดพ้นจากวิกฤติต่าง ๆ พร้อมทั้งเสริมความรู้เรื่องการออมเงินกับกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ด้วยการจัดอบรม “Speaker ตัวน้อย” ให้แก่แกนนำ สมาชิกและคุณครูที่ปรึกษาชมรม เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลต่อในโรงเรียนและชุมชน ซึ่งโรงเรียนแวงพิทยาคม จ.สกลนคร หนึ่งในชมรมเครือข่ายค่ายการเงินทิสโก้ ยังได้รับรางวัลหน่วยงานส่งเสริมการออมกับ กอช. ยอดเยี่ยม เนื่องใน “วันออมแห่งชาติ ประจำปี 2567” อีกด้วย ทั้งนี้ ในปี 2567 มีโรงเรียนสมัครเข้าร่วม 17 แห่ง ใน 14 จังหวัด โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากการเผยแพร่รวม 28,531 ราย
2. เครือข่ายธุรกิจที่เป็นมิตรกับชุมชน

กลุ่มทิสโก้ให้การสนับสนุนที่ผลิตและจำหน่ายโดยชุมชน หรือสั่งซื้อจากกิจการหรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่นำกำไรไปหมุนเวียนคืนสู่ชุมชน ในฐานะเครือข่ายธุรกิจที่เป็นมิตรกับชุมชน (Community-Friendly Business) ซึ่งกลุ่มทิสโก้ร่วมกับสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามาเป็นผู้ส่งมอบในห่วงโซ่อุปทาน ไม่เพียงเป็นผู้รับมอบความช่วยเหลือ โดยนำมาใช้ในการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ เป็นประจำ โดยในปี 2567 สินค้าและบริการที่ทางกลุ่มทิสโก้ได้ให้การสนับสนุน ได้แก่ ไข่ไก่ออร์แกนิกจากแทนคุณ ออร์แกนิคฟาร์ม กลุ่มเกษตรกร จ.นครปฐม เนวิลล์ ฟู้ด เซอร์วิส จ.อ่างทอง กังฟูฟาร์ม จ.เชียงใหม่ ชุมชนจักรสานพนัสนิคม จ.ชลบุรี เป็นต้น
3. ให้โอกาสทางการศึกษา

กลุ่มทิสโก้ให้ความสำคัญกับการศึกษา ที่เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงโอกาสต่างในชีวิตๆ จึงได้ริเริ่มโครงการทิสโก้ร่วมใจขึ้นเมื่อปี 2552 เพื่อมอบโอกาสด้านการศึกษา จัดสรรทุนพัฒนาอาคารเรียนและครุภัณฑ์มอบให้แก่โรงเรียนขยายโอกาสที่ขาดแคลนและมีความจำเป็นเร่งด่วนทั่วประเทศ เพื่อให้เยาวชนไทยได้มีอาคารเรียนที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน และสร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนส่งบุตรหลานเข้าเรียนตามวัย โดยเกณฑ์การคัดเลือกนั้น ทิสโก้ จะเน้นในเรื่องของ “โอกาส” และ “ความจำเป็น” เป็นหลัก เช่น อาคารเดิมผุพัง เสื่อมสภาพ ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เป็นต้น โดยนำข้อมูลหลักจากกระทรวงศึกษาธิการและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนมาประกอบการพิจารณา เพื่อให้โรงเรียนและนักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด
ปัจจุบัน โครงการทิสโก้ร่วมใจ ได้มีการส่งมอบไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 13 แห่ง โดยเป็นอาคารเรียน 12 แห่ง อาคารโรงอาหาร 1 แห่ง และปรับปรุงศูนย์อุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน 1 แห่ง รวมมูลค่าทั้งสิ้น 95,376,158.42 บาท และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารหลังที่ 14 รวมถึงยังคงเดินหน้าสำรวจความขาดแคลนของโรงเรียนทั่วประเทศต่อเนื่อง โดยที่กลุ่มทิสโก้เป็นผู้สนับสนุนหลักในการดำเนินโครงการ ร่วมกับลูกค้า ผู้บริหาร พนักงาน ประชาชนทั่วไปผู้มีจิตศรัทธา และได้รับสนับสนุนอุปกรณ์การก่อสร้างต่างๆจากคู่ค้าและพันธมิตร อาทิ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เทคโนโลยี ซิสเต็มส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด และบริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ทั้งนี้อาคารที่ได้มีการก่อสร้างเสร็จสิ้น และได้ส่งมอบในปี 2567 ได้แก่
ทิสโก้ร่วมใจ 11

ทิสโก้ร่วมใจ 13


นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการโครงการในปี 2567 คือ “ทิสโก้ร่วมใจ 14” จัดสร้างอาคารเรียนให้แก่โรงเรียนวัดลาดหญ้าไทร (สิงหวิทยาคาร) หมู่ที่ 10 บ้านลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นโรงเรียนที่มีศักยภาพด้านการเรียนการสอน ซึ่ึ่งสภาพอาคารเรียนเดิม มีสภาพทรุดโทรมมาก โครงสร้างเสียหายเป็นอันตรายไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งได้รับการอนุมัติให้รื้อถอนทำให้ห้องเรียนไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น จึงจัดสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น 8 ห้องเรียน เริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2567 มีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2568 ในงบประมาณ 5,337,000 บาท
4. สนับสนุนด้านสาธารณสุข และอื่นๆ
4.1 สนับสนุนงานวิจัยนวัตกรรมรักษาโรคมะเร็ง
กลุ่มทิสโก้ตระหนักดีว่า มะเร็งเป็นเรื่องใกล้ตัว จึงจัดตั้งโครงการ Fighting Cancer ขึ้น เพื่อร่วมส่งต่อโอกาสให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ด้วยการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งให้หายขาด มานับตั้งแต่ปี 2558 ด้วยการมอบรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าธรรมเนียมการขายผลิตภัณฑ์กองทุนรวมและผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพ ให้แก่ กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกองทุนโรคมะเร็งในเด็ก ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โรงพยาบาลรามาธิบดี
โดยในปี 2567 นี้ ได้บริจาคเงินรวมทั้งสิ้น 1,404,800 บาท อีกทั้งยังได้ขยายการมีส่วนร่วมออกไปในวงที่กว้างขึ้น โดยร่วมกับพันธมิตร ลูกค้า และพนักงาน ที่มีเจตนารมณ์เดียวกันร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งหลังรับการรักษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ผ่าน 3 กิจกรรม ได้แก่
- Cut & Careกิจกรรมบริจาคเส้นผมเพื่อผลิตวิกผมแท้ส่งมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โดยพนักงานที่มีจิตอาสาบริจาคเส้นผม และกลุ่มทิสโก้ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการผลิตวิกผม โดยในปี 2566 และ 2567 มีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการบริจาคเส้นผมจำนวน 309 ช่อ ซึ่งนำไปทอเป็นวิกผมได้จำนวน 69 หัว
- ทอรัก ถักหมวก กิจกรรมถักหมวกไหมโดยพนักงานจิตอาสาของกลุ่มทิสโก้เพื่อสร้างความสุขและร้อยยิ้ม พร้อมเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ป่วยมะเร็งหลังจากได้รับการรักษา โดยปี 2566 และ 2567 โครงการได้บริจาคหมวกไหมพรมทั้งสิ้นรวมกันเป็นจำนวน 246 ใบ
- เย็บเต้ารวมใจ สู้ภัยมะเร็งเต้านม กิจกรรมเย็บเต้านมเทียมจำนวน 200 ชิ้น โดยพนักงานจิตอาสาของกลุ่มทิสโก้เพื่อส่งมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ผู้ริเริ่มโครงการ “Sewing Cup Sewing Heart เย็บเต้ารวมใจ สู้ภัยมะเร็งเต้านม” ในการส่งมอบอุปกรณ์พร้อมสอนวิธีการเย็บเต้านมเทียมที่ถูกต้อ


4.2 สนับสนุนการรักษาโรคหัวใจ

โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหนึ่งในโรค NCDs ที่มีการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 พบการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี กลุ่มทิสโก้จึงให้ความสำคัญในการรักษาโรคกลุ่ม NCDs รวมถึงการใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ในการรักษา ในปี 2567 กลุ่มทิสโก้ได้บริจาคเงินสนับสนุน 1,000,000 บาท แก่กองทุนหน่วยโรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งเป็นกองทุนสำหรับภาควิชาหัวใจ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีทุนทรัพย์ไม่พอแต่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน, การสนับสนุนงานวิจัยของคณะแพทย์, การซื้ออุปกรณ์การแพทย์, การฝึกอบรมแพทย์-พยาบาล รวมไปถึง เป็นทุนเพิ่มเติมสำหรับช่วยเหลือการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทย ที่จะสามารถเข้าถึงการรักษาโรคหัวใจที่มีคุณภาพ สามารถใช้ชีวิตที่ดีต่อไปในสังคมอย่างมีความสุข
4.3 บริจาคโลหิต
กลุ่มทิสโก้ร่วมกับสภากาชาดไทยจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง ทั้งกิจกรรมประจำไตรมาส ที่สำนักงานใหญ่ ถนนสาทรเหนือ และสำนักงานอาคารภคินท์ ถนนรัชดาภิเษก รวมถึงกิจกรรมในสาขาต่างจังหวัดอีกด้วย โดยตั้งเป้ารณรงค์ให้ได้ปริมาณโลหิตไม่น้อยกว่า 1,000,000 ซีซีต่อปี โดยในปี 2567 ได้ปริมาณโลหิต 2,362,700 ซีซี นำไปช่วยเหลือผู้ที่ต้องการโลหิตได้ถึง 17,553 ราย จากกิจกรรม 22 ครั้ง ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ตรัง สุราษฏร์ธานี สงขลา กระบี่ สุรินทร์ นครสวรรค์ อุบลราชธานี นครราชสีมา อุุดรธานี ขอนแก่น



4.4 กิจกรรมบรรเทาทุกข์ “สมหวังฯ ยังชีพ”


5. มูลนิธิทิสโก้เพื่อการกุศล
ผลการดำเนินงาน | ปี 2525-2566 | ปี 2567 | ||
จำนวนทุน | จำนวนเงิน | จำนวนทุน | จำนวนเงิน | |
1. ทุนการศึกษา | 171,454 | 596,522,377.56 | 11,408 | 42,132,500.00 |
2. ทุนรักษาพยาบาล | 1,163 | 7,803,313.50 | 25 | 584,532.26 |
3. ทุนประกอบอาชีพ | 444 | 4,514,110.30 | 25 | 402,985.47 |
รวม | 173,061 | 608,839,801.36 | 11,458 | 43,120,017.73 |
กลุ่มทิสโก้ส่งมอบคุณค่าสู่สังคม รวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ทั้งผู้ถือหุ้น พนักงาน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนชุมชนและสังคม ผ่านการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การปันผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น สวัสดิการพนักงาน การพัฒนาบุคลากร การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ฯลฯ โดยมีผลต่อการกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่งคั่งให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ตลอดปี 2567 สรุปภาพรวมไว้ได้ดังนี้
มูลค่าทางเศรษฐกิจทางตรงที่ถูกสร้างขึ้นและกระจายออกไป (Direct Economic Value Generated and Distributed) | จำนวนเงิน (ล้านบาท) | ||
ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 | |
(1) มูลค่าเศรษฐกิจทางตรง (Direct economic value generated) | |||
รายได้ (Revenues) | 20,475.4 | 23,254.2 | 25 |
(2) การกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจทางตรง (Direct economic value distributed) | |||
ต้นทุนการดำเนินงาน (Operating costs) | 2,181.8 | 2,562.7 | |
ค่าจ้างและสวัสดิการพนักงาน (Employee wages and benefits) | 6,103.7 | 6,383.6 | |
เงินที่ชำระแก่เจ้าของเงินทุน (Payments to providers of capital) | 7,467.1 | 9,459.4 | |
เงินที่ชำระแก่รัฐ (Payments to government) | 2,455.4 | 3,095.0 | |
การลงทุนในชุมชน (Community Investment) | 44.9 | 41.6 | |
มูลค่าเชิงเศรษฐกิจสะสม (Economic value retained) | 2,222.5 | 1,711.9 |