TH EN

เคลมประกันโควิด-19 ง่ายๆให้ได้เงิน (เรื่องต้องรู้)

โพสต์เมื่อ 17 พฤษภาคม 2564

        ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังทรงตัวในระดับสูง และยอดการเสียชีวิตก็เพิ่มต่อเนื่อง แน่นอนตัวเลขความต้องการซื้อประกันโควิด-19 ทั้งแบบ เจอ จ่าย จบ หรือ แบบมีค่ารักษาพยาบาล ก็เพิ่มขึ้นมาเป็นเงาตามตัว ข้อมูล ณ วันที่ 22 เม.ย. 64 มีจำนวนมากถึง 13.8 ล้านฉบับ หรือกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ  

        ในภาวะสุ่มเสี่ยงแบบนี้หลายคนเป็นกังวล หากติดเชื้อขึ้นมาจริงๆ แล้ว เงื่อนไข และวิธีเคลมประกันต้องทำยังไงบ้าง 

1. กรอกเอกสารเรียกร้องสินไหมทดแทน 

  • สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์หรือติดต่อขอรับจากบริษัทประกันภัย

2. เตรียมเอกสารให้พร้อม

  • แบบเจอ จ่าย จบ หากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าติดเชื้อแล้ว สามารถแจ้งขอรับค่าสินไหมทดแทนไปยังบริษัทได้ โดยนำส่งหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ เช่น ใบรับรองแพทย์ระบุว่าเป็นโควิด-19 หรือผล Lap

  • แบบคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน ที่แสดงรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดของสถานพยาบาล รายการยา รายละเอียดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยต้องเป็นฉบับจริง

  • แบบคุ้มครองภาวะวิกฤต ต้องใช้เอกสารหลักฐานทางการแพทย์

  • แบบคุ้มครองการเสียชีวิต ต้องใช้สำเนามรณะบัตรหรือหนังสือรับรองการเสียชีวิตจากโควิด-19 

3. ซื้อไว้กี่ฉบับก็เคลมได้ทุกฉบับ 

  • เช่น ซื้อ 3 ฉบับ แบบเจอ จ่าย จบ 1 ฉบับ วงเงินคุ้มครอง 50,000 บาท และแบบคุ้มครองค่ารักษาอีก 2 ฉบับ ค่ารักษาพยาบาลรวม 100,000 บาท ต่อมาโรงพยาบาลเรียกเก็บค่ารักษาโควิด-19 เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท ก็รับเงินก้อนจากฉบับแรก 50,000 บาท และเคลมค่าใช้จ่ายในการรักษาตามจริงอีก 50,000 บาท 

4. ค่ารักษาพยาบาบาล

  • สามารเคลมได้ทั้งการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel

5. คุ้มครองกรณีตรวจพบครั้งแรกเท่านั้น

  • หากเป็นแล้วหาย แล้วกลับมาเป็นซ้ำ ประกันจะไม่คุ้มครองในส่วนของเงินก้อนเจอ จ่าย จบ และความคุ้มครองส่วนอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาลคุ้มครองตามวงเงินของปีกรมธรรม์นั้นๆ

6. อย่าลืม!! 

  • เช็กเงื่อนไขระยะเวลา การให้ความคุ้มครองและกรอบเวลาในการพิจารณาสินไหม เช่น มีระยะเวลารอคอย 14 วัน หรือระยะเวลาที่ผู้ซื้อประกันจะไม่ได้รับความคุ้มครอง กรณีชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่อาจต้องให้การรักษาพยาบาลสิ้นสุดก่อน จากนั้นต้องส่งเอกสารต่างๆ ให้บริษัทประกันภายใน 30 วัน เป็นต้น

     

ที่มา : ธนาคารทิสโก้, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

 

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน