TH EN

เบื้องลึกหุ้นกลาง-เล็กในสหรัฐฯ ตามรอยข้อสงสัยที่นักลงทุนอยากรู้

โพสต์เมื่อ 31 พฤษภาคม 2564 | บทความโดย : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้

คุณเคยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ หุ้นขนาดกลาง และ ขนาดเล็กของสหรัฐฯ ที่ยังหาคำตอบไม่ได้อยู่หรือเปล่า? ... ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะตีแผ่ข้อมูลทั้งหมดให้คุณรู้ !!!

        คนไทยค่อนข้างคุ้นเคยกับการลงทุนหุ้นสหรัฐฯ มายาวนาน นั่นก็เพราะประเทศนี้มีความโดดเด่นหลายเรื่อง ทั้งในด้านแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ และในแง่มุมของตัวบริษัทในสหรัฐฯ เอง ที่มีทั้งสินค้าและบริการ ที่โด่งดังไปทั่วโลก 

        ประเด็นนี้ ก็เลยทำให้ประเทศไทยมีการเสนอขายกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ เพื่อรองรับความต้องการของนักลงทุนที่เห็นโอกาส และคาดหวังที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดี ก็เลยส่งผลให้ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีกองทุนรวมสหรัฐฯ ที่นโยบายหลากหลายให้เลือก ทั้งแบบ กองทุนรวมที่อ้างอิงดัชนี กองทุนอ้างอิงธุรกิจรายกลุ่ม (Sector)  ..ฯลฯ ซึ่งแทบจะทั้งหมด เรียกได้ว่า อ้างอิงหุ้น “ขนาดใหญ่” 

        แล้วหุ้นขนาดกลาง - เล็กล่ะ??? ไม่โอเคตรงไหน ???

ข้อสงสัยที่ 1 : หุ้นกลาง-เล็กในสหรัฐฯ ผลตอบแทนไม่โอเคหรือเปล่า ?

        ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่หลายคนน่าจะสงสัยกันมากพอสมควร แต่จากการแกะรอยเพื่อหาคำตอบ โดยวิเคราะห์จาก Russell 2500 Growth Index ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นขนาดกลาง - เล็ก จะพบได้ว่า Russell 2500 Growth Index มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า เมื่อเทียบกับ S&P 500 ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ถึง 138% นับตั้งแต่ปี 2008 

        และที่สำคัญการปรับตัวขึ้นของ Russell 2500 Growth Index ก็ไม่ได้ปรับขึ้นในระยะสั้น หรือ เพิ่งดีดตัวในช่วงท้ายเท่านั้น โดยจากกราฟจะเห็นได้ว่า Russell 2500 Growth Index มีทิศทางที่ดีกว่า S&P 500 มาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพการเติบโตที่ดี ในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ที่ถูกคำนวณอยู่ในดัชนีนี้

ข้อสงสัยที่ 2 : หุ้นกลาง-เล็กของสหรัฐฯ มีบทวิเคราะห์น้อย ?

        ไม่ใช่แค่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เท่านั้น แต่นี่เป็นประเด็นคลาสสิคที่ตลาดหุ้นทั่วโลกต้องเผชิญ !! แน่นอนว่าบริษัทขนาดใหญ่ มักมีบทวิเคราะห์ครอบคลุม เพราะเป็นที่สนใจอยู่ในสายตานักลงทุน จึงทำให้นักวิเคราะห์เข้าไปประเมินในด้านต่างๆ และนำเสนอออกมาเป็นบทวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจลงทุน  

        แต่พอเป็นบริษัทขนาดกลาง-เล็ก นักวิเคราะห์ก็อาจจะเข้าไปประเมินได้น้อยลง เพราะต้องยอมรับว่าบริษัทขนาดกลาง-เล็ก นั้น มีจำนวนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในสหรัฐฯ  

        ยกตัวอย่างเช่น Russell 2500 Growth Index ซึ่งมีจำนวนหุ้นที่อ้างอิงในดัชนีถึง 1,345 บริษัท มากกว่า เมื่อเทียบกับดัชนีห้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง S&P 500 ที่มีหุ้นอ้างอิงอยู่ราว 505 บริษัท และ MSCI USA ซึ่งมีหุ้นอ้างอิง 620 บริษัท ดังนั้น ด้วยจำนวนที่มากขนาดนี้ ก็อาจส่งผลให้จำนวนนักวิเคราะห์ที่มีอย่างจำกัด ไม่สามารถเจาะลึกลงไปในหุ้นทุกบริษัทได้  

        อย่างไรก็ตาม การที่บทวิเคราะห์ยังครอบคลุมไปไม่ถึง หุ้นขนาดกลาง-เล็กของสหรัฐฯ ก็ไม่ได้หมายความว่า หุ้นเหล่านี้จะเป็นหุ้นที่ไม่น่าสนใจเสมอไป เพราะหลายบริษัท ก็มีรายได้เติบโตสม่ำเสมอ และสามารถจ่ายเงินปันผลได้ดี   

        ตัวอย่างเช่น “Stamps” ผู้ให้บริการส่งไปรษณีย์และบริการขนส่งทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งบริษัทนี้มีจุดเด่นที่มีรายได้สม่ำเสมอจากค่าสมัครรายเดือนของลูกค้า และมีโอกาสเติบโตอีกมาก เนื่องจากมีส่วนแบ่งการตลาดที่ยังไม่สูงนัก นอกจากนี้ Stamps ยังมีรายได้ที่เติบโตดี โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2553 - 2563) รายได้เติบโตเฉลี่ย 24% ต่อปี อีกทั้งบริษัทไม่มีการก่อหนี้ระยะยาว ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2545 ได้จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นไปแล้วกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และล่าสุดมีแผนขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศมากขึ้น (ที่มา: Company Investor Presention)

ข้อสงสัยที่ 3 : ไม่ค่อยมีประเด็น “ว้าว-ปัง-แซ่บ” ทางธุรกิจที่น่าสนใจ ?

        ในช่วงที่ผ่านมา หุ้นขนาดกลาง-เล็ก หลายบริษัท มีประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่องทั้ง “การถูกเข้าซื้อกิจการ” จากบริษัทขนาดใหญ่ โดยดีลน่าสนใจที่เคยเกิดขึ้น ก็คือ ดีลของ Pepsi ที่มีการประกาศข้อตกลงซื้อกิจการ SodaStream แบรนด์น้ำดื่มโซดาและบริษัทผลิต Sparking Water Makers สำหรับใช้ภายในบ้าน เนื่องจาก Pepsi เองก็ต้องการปรับตัวเข้าหาผู้บริโภคสายสุขภาพมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของคนยุคใหม่ ที่ไม่นิยมเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งส่งผลให้ผู้ถือหุ้น SodaStream เอง ก็ได้ประโยชน์จากดีลนี้ (ที่มา : https://www.voathai.com/a/pepsico-buy-sodastream/4536797.html) 

        นอกจากนี้หุ้นขนาดกลาง-เล็ก ยังมีความน่าสนใจเรื่อง “ความสามารถในด้านการสร้างการยอมรับจากประชาชนในเวลาที่รวดเร็วขึ้น” ซึ่งเห็นได้จาก  Facebook และ Iphone ที่ได้สร้างปรากฎการณ์นี้ให้เกิดขึ้นทั่วโลก ในช่วงเวลาสั้นๆ

 

ข้อสงสัยที่ 4 : กองทุนไหน ลงทุนหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ในสหรัฐฯ ?

        เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนการลงทุน บลจ.ทิสโก้ ได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส Mid/Small Cap อิควิตี้ (TUSMS) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมตราสารทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Granahan US SMID Select FUND ชนิดหน่วยลงทุน A (Acc) - USD (กองทุนหลัก) มีนโยบายลงทุนหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดขนาดกลางและเล็ก (“SMID Cap”) ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และจัดตั้งในสหรัฐฯ หรือดำเนินธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท เปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) 1-10 มิ.ย. 2564  

        โดยจุดเด่นของกองทุน TUSMS คือ ผู้จัดการกองทุนหลัก ซึ่งมีประสบการณ์การลงทุนในหุ้นขนาดกลางขนาดเล็กของสหรัฐฯ กว่า 22 ปี จะลงไปวิเคราะห์และพูดคุยกับผู้บริหารในแต่ละบริษัทที่เป็นเป้าหมายการลงทุนด้วยตัวเอง เพื่อค้นหาหุ้นที่เป็นเพชรน้ำงามที่นักวิเคราะห์ทั่วไปอาจยังเข้าไม่ถึงข้อมูล ดังนั้น ผู้จัดการกองทุนจึงมีโอกาสใกล้ชิดและทราบถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของบริษัทในเชิงลึก รวมถึงมีโอกาสเข้าซื้อหุ้นในช่วงที่ราคายังไม่ปรับเพิ่มขึ้นไปมากนัก 

        นอกจากนี้ กลยุทธ์การเลือกหุ้นเข้าพอร์ตการลงทุนก็น่าสนใจ โดยมี 3 กลยุทธ์หลักในการเลือกหุ้น คือ 1. หุ้นที่มีคุณภาพ มีรายได้สม่ำเสมอ และมีงบการเงินแข็งแกร่ง โดยหุ้นกลุ่มนี้จะถือลงทุนประมาณ 1-7 ปี  2. หุ้นที่มีนวัตกรรมที่โดดเด่น สามารถรุกตลาดใหม่ๆ ได้ แม้ว่าจะยังไม่มีกำไร แต่มีโอกาสเติบโตสูง โดยหุ้นกลุ่มนี้จะถือลงทุนประมาณ 1-10 ปี และ 3. หุ้นที่มีจุดเปลี่ยนสำคัญ ทั้งในเชิงการผลิตสินค้าและบริการ การตลาด เปลี่ยนการบริหารจัดการ เปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหม่ รวมถึงหุ้นที่มีการควบรวมกิจการ โดยหุ้นกลุ่มนี้จะถือลงทุนประมาณ 1-3 ปี 

        พิเศษสำหรับลูกค้าที่มียอดเงินลงทุนในกองทุน TUSMS ระหว่างวันที่ 1-10 มิ.ย. 2564 ตั้งแต่ 20 - 29.99 ล้านบาท จะได้รับทองคำหนัก 2 สลึง และยอดเงินลงทุนตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป รับทองคำหนัก 1 บาท (1 ท่าน ต่อ 1 สิทธิ์)  

        ทั้งนี้ กองทุนเปิด TUSMS  อาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในต่างประเทศ จึงมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้สนใจลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนรวม โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนที่ได้เปิดเผยไว้ที่ www.tiscoasset.com และสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ.ทิสโก้ หรือ ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ TISCO Contact Center โทร. 0 2633 6000 กด 4, 0 2080 6000 กด 4 และ www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน