TH EN

How to เช็กเพจปลอม รู้ไว้ไม่โดนหลอก

                            

โพสต์เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566 | บทความโดย : TISCO

 

            ในยุคดิจิทัลที่องค์กรและแบรนด์สินค้าล้วนสื่อสารกับลูกค้าอย่างสะดวก รวดเร็วผ่านทาง โซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Page, Twitter, LINE Official Account ฯลฯ  แต่ในความรวดเร็ว ทันสมัยนั้น กลับมีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดี ปลอมแปลงบัญชีโซเชียลมีเดียขององค์กร พร้อมคัดลอกภาพ เนื้อหา วิดีโอ มาโพสต์ในบัญชีปลอมที่สร้างขึ้นเพื่อหลอกให้หลงเชื่อ แล้วลวงถามข้อมูลส่วนตัว สร้างความเสียหายให้เราได้ 

            ในกรณีของ Facebook แม้เพจปลอมจะพยายามลอกแบบเพจจริง แต่เพจจริงขององค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ (Official Page) ก็มีเอกลักษณ์ และมีจุดสังเกตุให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อกลลวงของมิจฉาชีพ

           

ดูเครื่องหมาย Verified Badge  

           เพจต้องได้รับการยืนยันและมีเครื่องหมายรับรองตัวตน ถึงแม้ว่าตอนนี้บัญชีผู้ใช้งานทั่วไปใน Facebook จะสามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องหมาย Verified ได้แล้ว แต่พวกเพจหลักต่าง  ๆ จะยังไม่สามารถซื้อได้ ดังนั้น หากเพจที่ได้รับการยืนยันตัวตัว ก็สามารถเชื่อถือได้ในระดับนึง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เพจที่ไม่มี Verified Badge ทั้งหมดจะเป็นเพจปลอม ซึ่งในกรณีนี้แนะนำให้เข้าไปดูการเคลื่อนไหวของเพจ เช่น ความสม่ำเสมอในการโพสต์, ดูยอดไลค์, การตอบโต้ของลูกเพจที่ไม่ได้มาในทิศทางเดียวกัน (ส่วนมากเพจปลอมจะมีการจ้างหน้าม้ามาเพื่อสร้างความเคลื่อนไหวในเพจโดยใช้คำคล้าย ๆ กัน) หรือ ดูยอดขายและการจัดส่ง 

 

ดูรายละเอียดของเพจ  

            รายละเอียดของเพจมีความสำคัญ เช่น วันที่สร้างเพจ และ ชื่อเพจว่าเคยมีการเปลี่ยนชื่อเพจมาก่อนหรือไม่ ซึ่งหากเป็นเพจที่เปิดใหม่ได้ไม่นาน หรือมีการเปลี่ยนชื่อมาไม่นาน ส่วนมากแล้วจะเป็นเพจปลอม 

 

 

ยอดผู้ติดตาม 

          มิจฉาชีพอาจพิมพ์ยอดผู้ติดตามปลอมไว้ที่รายละเอียดของเพจ  ซึ่งส่วนใหญ่เพจปลอมจะมีคนไลค์น้อย ยอดผู้ติดตามน้อย อีกทั้งผู้ติดตามยังอาจเป็นผู้ติดตามปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมา รวมถึง เพจจริงจะมียอดผู้ติดตามโดดเด่นกว่าเพจอื่น ๆ
 

 

 

ชื่อเพจ

            หากสังเกตดี ๆ เพจปลอมมักจะสะกดผิด, มีอักษรซ้ำ, มีจุดหรืออักขระพิเศษ   ดังนั้นจึงควรสังเกตุว่าชื่อเพจสะกดถูกต้องหรือไม่ มิจฉาชีพอาจทำเลียนแบบ  

 

 

เนื้อหาและการแสดงความคิดเห็นของผู้ติดตาม 

          สังเกตุการโพสต์เนื้อหาและการโต้ตอบในเพจ ถือเป็นส่วนสำคัญในการตรวจสอบว่าเป็นเพจปลอมหรือไม่  รวมถึงการแสดงความคิดเห็นของผู้ติดตาม  จำนวนคนไลก์ และ คอมเมนต์ 

 

 

URL ของเพจ  

             ให้สังเกตุที่คำซึ่งอาจเป็นคำแปลกๆ ที่ไม่มีความหมาย รวมถึงความถูกต้องของชื่อ domain เช่น .go.th จะเป็นของหน่วยงานภาตรัฐ , .co.th จะเป็นธุรกิจในไทย , .com จะเป็นองค์ที่แสวงหากำไร เป็นต้น 

 

 

 

เพจจริง จะไม่ทักข้อความหาผู้ติดตามก่อน 

            โดยปกติแล้วเพจส่วนใหญ่จะไม่ทักข้อความหาผู้ติดตามก่อน ซึ่งวิธีปฏิบัติส่วนมากจะตอบกลับผ่านทางคอมเมนต์ หรือ หากผู้ติดตามต้องการติดต่อหรือแสดงความสนใจกับเพจก็มักจะติดต่อสื่อสารผ่านทางกล่องข้อความเท่านั้น

 

 

 

#sucuritiesawareness

#TISCOTips

#TISCO

 


 

ติดตามข้อมูลข่าวสาร TISCO ช่องทางอื่น ๆ ได้แล้ววันนี้!

⭐ Facebook > https://www.facebook.com/TISCOFinancialGroup

⭐ LINE > https://lin.ee/1NQ6yvI

⭐ Twitter > https://twitter.com/TISCOAdvisory

⭐ Instagram > https://instagram.com/tisco_official

⭐ Youtube > https://www.youtube.com/@TISCOGroup

⭐ Website > www.tisco.co.th

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน