TH EN

เช็กลิสต์ 5 พฤติกรรมของการก่อหนี้เกินตัว

                            

โพสต์เมื่อ 25 มิถุนายน 2567 | บทความโดย : TISCO

 
อย่าปล่อยให้พฤติกรรมเหล่านี้ติดอยู่กับตัวเราเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้มีหนี้สินที่เกินตัว ยิ่งในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้ จะยิ่งทำให้เราหาทางออกได้ยากขึ้น  เพราะรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ยังไม่รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เราจึงควรสังเกตตัวเองว่ามีพฤติกรรมหรือสัญญาณอันตรายว่าเรามีโอกาสที่จะก่อหนี้เกินตัว   
 

 

 

 

            เรื่องสำคัญที่เราอาจะมองข้ามไปก็คือ การตั้งเป้าหมายการใช้เงิน หรือ การวางแผนการเงินซึ่งหากเราไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน อาจทำให้ถูกกระตุ้นให้ใช้จ่ายได้ง่าย และอาจทำให้เกิดนิสัยพร้อมจ่ายแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง ทำให้มีหนี้เพิ่มทุกเดือนแบบไม่รู้ตัว 
 
วิธีแก้ : หาแรงบันดาลใจ และตั้งเป้าหมายการออม เพื่อช่วยให้คุณมีแรงผลักดันในการเก็บเงิน เป้าหมายการออมไม่จำเป็นต้องเป็นของชิ้นใหญ่หรือราคาแพงเสมอไป สามารถเริ่มได้จากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างวินัยทางการเงิน เช่น เก็บเงินแบ็คแพ็คเที่ยวฮ่องกง หรือซื้อสมาร์ตโฟนเครื่องใหม่ เป็นต้น

 

 
 
          เวลาที่มีรายได้หรือเงินเดือนเข้ามา ให้รวมหนี้ที่ต้องจ่ายต่อเดือนทั้งหมด เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่าบัตรกดเงินสด ค่ารถ ค่าบ้าน เป็นต้น หารด้วยรายได้ต่อเดือน แล้วคูณ 100 ถ้าออกมาเกิน 40% ของรายได้ แปลว่าเท่ากับสัญญาณอันตราย อาจจะทำให้สภาพคล่องขาดมือ และเป็นสาเหตุของการเป็นหนี้อย่างต่อเนื่องได้

 

วิธีแก้ : บริหารจัดการหนี้ด้วยการรวมหนี้เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง โดยการนำหนี้หลาย ๆ ที่ มารวมไว้เป็นก้อนเดียว โดยนำทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถ มาใช้ค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อกับธนาคาร
 

 

 
            หนี้สินที่ก่อง่ายที่สุดในเวลานี้คือหนี้บัตรเครดิต เพราะไม่ต้องมีหลักประกันใด ๆ เพียงแค่มีวงเงินอยู่ในบัตรเครดิตก็สามารถใช้จ่ายได้ตามความต้องการ และหากเริ่มมีการจ่ายขั้นต่ำ นั่นหมายความว่าเราเริ่มใช้เงินมากกว่าที่หาได้ และรายได้เริ่มไม่สัมพันธ์กับรายจ่าย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นหนี้แบบไม่รู้จบ
 
วิธีแก้ : อย่างแรกเลยคือหลีกเลี่ยงการรูดบัตรกับสิ่งที่ไม่จำเป็น หากจำเป็นสามารถลดรายจ่ายด้วยการค้นหาโปรโมชันพิเศษ หรือใช้แต้มสะสมการรับเครดิตเงินคืน
 

 

 
            อีกหนึ่งปัญหาสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องหนี้สิน คือ ไม่ทราบว่าตัวเองมีหนี้สินเท่าไหร่บ้าง ได้แต่รูดบัตรเครดิต และชำระค่าบัตรเครดิตแบบขั้นต่ำ ทำติดต่อกันหลาย ๆ เดือน มารู้ตัวอีกทีก็ชักหน้าไม่ถึงหลัง โดนทวงหนี้ทุกช่องทาง  
 
วิธีแก้ : ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อให้เห็นตัวเลขทั้งหมด เป็นเหมือนสิ่งที่คอยเตือนและกระตุ้นให้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น สามารถจดใส่สมุดหรือทำผ่านมือถือได้ตามแบบที่ตัวเองถนัด
 

 

 
            เป็นพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่า เราเริ่มแก้ไขปัญหาด้วยการหาแหล่งเงินกู้ที่อื่นเพื่อมาจัดการหนี้เดิม นอกจากหนี้จะเพิ่มหนี้แล้ว รายจ่ายดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ถ้าปล่อยให้เวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งทำให้เราออกจากวงจรนี้ยากมากขึ้น

 

วิธีแก้ : สามารถปรึกษาธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาประนอมหนี้ และตกลงวางแผนชำระร่วมกัน เช่น ขอขยายเวลาผ่อนชำระ ขอลดอัตราดอกเบี้ย ขอหยุดการคิดอัตราดอกเบี้ยชั่วคราว เป็นต้น
 

 

ติดตามข้อมูลข่าวสาร TISCO ช่องทางอื่น ๆ ได้แล้ววันนี้!
⭐ Facebook > https://www.facebook.com/TISCOFinancialGroup
⭐ LINE > https://lin.ee/1NQ6yvI
⭐ Twitter > https://twitter.com/TISCOAdvisory
⭐ Instagram > https://instagram.com/tisco_official
⭐ Youtube > https://www.youtube.com/@TISCOGroup
⭐ Website > www.tisco.co.th

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน