TH EN

รู้จัก “ดิจิทัล เฮลธ์แคร์” ธุรกิจที่โควิด-19 และโรคร้ายหวาดกลัว

โพสต์เมื่อ 22 พฤษภาคม 2563 | บทความโดย : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้

ที่ผ่านมา มนุษย์เป็นฝ่ายที่ต้องหวาดกลัวโรคระบาด อย่าง “โควิด-19” และโรคร้ายแรงต่างๆมาโดยตลอด... แต่นับจากที่ธุรกิจ “ดิจิทัล เฮลธ์แคร์” เริ่มขยายตัว ก็ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป ...ไวรัส และ โรคภัยไข้เจ็บ กลับกลายต้องเป็นฝ่ายที่ต้องถอยให้กับมนุษย์ … ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ?

สาเหตุที่  “ดิจิทัล เฮลธ์แคร์” สามารถพิชิตโรคต่างๆได้อย่างดี นั่นก็เป็นเพราะ ธุรกิจนี้ได้นำความล้ำสมัยของเทคโนโลยียุคใหม่ มาผสมผสานกับศาสตร์ด้านการแพทย์แขนงต่างๆ จนช่วยให้การรักษา และบรรเทาโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

และเพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น เราจะอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างธุรกิจ “ดิจิทัล เฮลธ์แคร์” ที่ประสบความสำเร็จในโลกนี้ … ให้เห็นกันอย่างชัดๆอีกครั้ง

ดิจิทัล เฮลธ์แคร์ …เพิ่มความใกล้ชิดบุคลากรทางการแพทย์แบบ Social Distancing

ในช่วงที่การแพร่ระบาดของโรค โควิด - 19 ลุกลาม ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์ในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนาก็ตาม ดังนั้นจึงมีธุรกิจด้านดิจิทัล เฮลธ์แคร์ ที่ถือกำเนิดขึ้นมา โดยมีเป้าหมายหลักในการพยายามแก้ปมปัญหานี้

ซึ่งหากจะยกตัวอย่างธุรกิจ “ดิจิทัล เฮลธ์แคร์” ที่ชำนาญในด้านนี้ให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ก็ขอพูดถึง “Teladoc” ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาระบบเครือข่ายโทรศัพท์และ video conferencing ที่เข้ามาช่วยเชื่อมโยงระหว่างคนไข้และบุคคลากรทางการแพทย์ ผ่านโทรศัพท์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ท ในชื่อ “Telehealth” เพื่อให้คำปรึกษาทางการแพทย์ออนไลน์ทั่วโลกเข้าถึงง่ายยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ “Teladoc” ถือว่ากำลังได้รับความนิยมอย่างยิ่ง เห็นได้จากจำนวนลูกค้าที่มากกว่า 10,000 คน ซึ่งใช้บริการนี้อยู่ ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีข้อมูลในเชิงลึกที่น่าสนใจด้วยว่า กว่า 40% ของบริษัทใน Fortune 500 ได้เข้ามาใช้บริการของ“Teladoc”เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นจึงนับเป็นกลุ่มลูกค้าที่เรียกได้ว่ามีศักยภาพที่น่าสนใจอย่างมากเลยทีเดียว

ดังนั้นเมื่อก้าวขึ้นสู่ระดับที่ได้รับการยอมรับตามที่เล่ามา ประกอบกับจุดเด่นในเรื่องค่าบริการถูกกว่าการไปหาหมอทั่วไปที่โรงพยาบาล จึงทำให้“Teladoc” มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 41% ในไตรมาส 1/20 เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/19 โดยในระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค.ปี 2020 มีใช้บริการมากกว่า 2 ล้านราย เพิ่มขึ้นกว่า 90% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019 และตลอดทั้งปี 2019 มีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 4.1 ล้านราย

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่น่าสนใจอีกบริษัทหนึ่ง นั่นก็คือ “Biotelemetry” ผู้ให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ ด้วยเทคโนโลยีการตรวจสอบระยะไกล โดยบริษัทนี้มีความโดดเด่นอย่างมากในการให้บริการ เพราะมีเครือข่ายข้อมูลการเต้นหัวใจที่ใหญ่ที่สุดในโลกรวมเอาไว้

ดิจิทัล เฮลธ์แคร์ …ผู้ช่วยบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์

บริการระบบการบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์  นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ช่วยให้การเก็บข้อมูลสำหรับการรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ ผันตัวออกมาทำธุรกิจในด้านนี้โดยเฉพาะ 

นั่นก็คือ บริษัท “Veeva System” ผู้ให้บริการในการเก็บข้อมูลระบบ Cloud Computing สำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ และยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและการวางระบบข้อมูลให้แก่ผู้บริการในอุตสาหกรรมการแพทย์ เช่น บริษัทผลิตยา ด้วย

โดย “Veeva System” ถือเป็นอีกหนึ่งดาวรุ่ง  แห่งวงการดิจิทัล เฮลธ์แคร์ เพราะมีการคาดการณ์กันว่ารายได้ ของบริษัท น่าจะเติบโตถึง 3 เท่า ระหว่างปี 2019-2025 

นอกจากนี้ยังมี บริษัทที่น่าจับตาอีกหนึ่งแห่ง ก็คือ “Exact Science” ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการตรวจมะเร็งเบื้องต้น ด้วยการใช้ข้อมูลระดับ DNA มาวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันการ และมีประสิทธิภาพ 

ดังนั้น จึงเรียกได้ว่า กลุ่มธุรกิจนี้ สามารถตอบโจทย์ให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์ รวมถึงตัวผู้ป่วยได้อย่างดีเลยทีเดียว

ดิจิทัล เฮลธ์แคร์ …เพิ่มโอกาสรอดให้ผู้ป่วยมากขึ้น

ปัจจุบันยังมีโรคหลายประเภทที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะหากละเลย หรือรักษาอย่างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจส่งผลต่อชีวิตของผู้ป่วยเลยก็ว่าได้ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน เป็นต้น

ดังนั้นบริษัทที่ใช้วิธีการรักษาด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ จึงได้ก่อตั้งขึ้นมากมายเพื่อตอบโจทย์นี้ ยกตัวอย่างเช่น “Novocure” ซึ่งเป็นผู้คิดค้นการรักษามะเร็งในสมอง , เนื้องอก โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การใช้แม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดการเติบโตของเซลล์ และผลของการรักษายังช่วยให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นด้วย

ฟังแบบนี้หลายคนอาจรู้สึกทึ่งหรือไม่แน่ใจว่า นี่เป็นนวัตกรรมการรักษาที่ทำได้จริงหรือไม่? เรื่องนี้ไม่ต้องกังวล เนื่องจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุมัติการรักษาของบริษัทไปแล้ว 2 โครงการ และ อีก 5 โครงการกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา นี่จึงเป็นการตอกย้ำความสำเร็จของ “Novocure” และยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีอีกบริษัทที่น่าสนใจในด้านนี้อีก นั่นก็คือ “Dexcom” ผู้ผลิตอุปกรณ์ตรวจจับระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยไม่ต้องเจาะเลือด และอุปกรณ์นี้ยังแจ้งเตือนเมื่อระดับกลูโคส ต่ำ-สูง กว่าที่กำหนด รวมทั้งยังมีฟังก์ชั่นแสดงค่าระดับน้ำตาลได้ real time และมีความแม่นยำใกล้เคียงกับการเจาะเลือดสูง

พิเศษยิ่งไปกว่านั้น อุปกรณ์ที่ว่า ยังสามารถรับส่งข้อมูลผ่านIOS และเชื่อมต่อกับ apple watch , Iphone , android ที่รองรับได้ (สามารถส่งข้อมูลได้มากสุด 1 เครื่อง) รวมถึงระบบตรวจวัดน้ำตาลในร่างกาย (CGM system) นี้ สามารถใช้งานได้กับผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป จึงเรียกได้ว่าตอบโจทย์ด้านการดูแลผู้ป่วยได้ในหลายช่วงอายุ และใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าที่เคยเป็นจริงๆ

อยากลงทุนหุ้นดิจิทัล เฮลธ์แคร์ ต้องทำอย่างไร ?

ปัจจุบัน ธุรกิจ ดิจิทัล เฮลธ์แคร์ มีจำนวนไม่มากนักในประเทศไทย ดังนั้น หากต้องการลงทุนในธุรกิจนี้จริงๆ หนึ่งในทางออก ที่จะช่วยให้คุณไม่พลาดโอกาส ก็คือ “การลงทุนผ่านกองทุนรวม” ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญ ช่วยคัดเลือกบริษัทต่างๆในธุรกิจดิจิทัล เฮลธ์แคร์ ที่น่าสนใจทั่วโลกให้ …

ด้วยแนวทางนี้ จะทำให้คุณสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจ “ดิจิทัล เฮลธ์แคร์” ที่โควิด-19 และโรคร้ายหวาดกลัวได้

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน