TH EN

เจาะธุรกิจ Fintech นวัตกรรมการเงินแห่งอนาคตของโลก

โพสต์เมื่อ 20 กันยายน 2564 | บทความโดย : บลจ.ทิสโก้

ยิ่งเวลาผ่านไป นวัตกรรมด้านการเงินที่เรียกว่า “Fintech” ก็ยิ่งมีบทบาทสำคัญต่อคนบนโลกมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราได้อย่างน่าประหลาดใจ เราจะพาคุณไปเจาะลึกกับธุรกิจนี้ให้มากขึ้น พร้อมทั้งค้นหาธุรกิจFintech พื้นฐานแกร่ง ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนาน และมีีโอกาสการเติบโตที่ดีรออยู่ข้างหน้า 

        ทุกคนที่อยู่ในแวดวงการเงินต่างรู้ว่า Fintech ซึ่งมาจาก Financial + Technology นั้น หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านการเงินการธนาคาร และการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพ 

        โดยในตอนนี้ Fintech ได้เข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจต่างๆทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งหากยกตัวอย่างการใช้ Fintech ที่จับต้องได้และได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปอย่างมากในประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง “ การพัฒนามาตรฐาน QR Code” สำหรับชำระเงินนั่นเอง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้ ได้ช่วยเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment) ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น แถมยังเป็นประโยชน์ต่อร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้มีต้นทุนที่ต่ำลงด้วย

        ไม่เพียงแค่นี้ ทั่วทั้งโลกกำลังถูก Fintech แทรกซึมเข้าไปอยู่ในแทบจะทุกกิจกรรมของการใช้ชีวิตเลยก็ว่าได้ ทั้งในด้านการชำระค่าสินค้า การใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตและเครดิต การให้สินเชื่อผ่านระบบโมบายแบงก์กิ้งสำหรับการชอปปิงออนไลน์ การให้กู้ยืมระหว่างกัน (peer-to-peer lending) หรือจะเป็นในด้านการลงทุน ก็มีบริการ Robo-advisor ที่ช่วยเข้ามาจัดพอร์ต แม้กระทั่งการใช้ Smart Watch มาใช้ในการติดตามพฤติกรรมของผู้เอาประกันเพื่อนําสถิติด้านสุขภาพมาเชื่อมโยงกับการคํานวณเบี้ยประกันรอบถัดไป เป็นต้น

 

เจาะอาณาจักร Fintech ...5 ปัจจัยเร่งธุรกิจโต1

        จากที่เล่ามาทั้งหมด จะเห็นได้ว่ามีหลากหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Fintech แต่ถ้าหากคุณเป็นนักลงทุน ก็น่าจะอยากเจาะลึกต่อว่าอาณาจักร Fintech จะยังเติบโตต่อไปได้ไกลอีกแค่ไหน? 

  ประเด็นนี้ตอบได้ด้วย 5 ปัจจัยเร่งสำคัญ ได้แก่

         1. Mobile Technology : ซึ่งยังคงมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้น และจะยิ่งเชื่อมต่อทุกคนให้เข้าถึง Fintech

        2.สกุลเงินต่างๆ จะถูกเปลี่ยนเป็น Digital : เห็นได้จากปรากฏการณ์ที่ธนาคารกลางหลายแห่งของโลกเริ่มทดลองใช้ Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการชำระราคาสินค้าและบริการ2

        3.Bigdata และ Machine Learning : ประมวลผลการใช้จ่าย ช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจลูกค้าดีขึ้นในด้านการนำเสนอสินค้าและบริการ และช่วยให้ธุรกิจนำ Fintech ไปตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

        4.ไวรัส COVID-19 : นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา การแพร่ระบาดของไวรัส ได้เร่งให้เกิดธุรกรรมออนไลน์ทั่วโลก ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ มีแนวโน้มจะเปิดรับนวัตกรรมทางการเงินได้ง่ายขึ้น หลังจากที่ได้เคยสัมผัสการใช้บริการแล้ว

        5.ความปลอดภัยของ Blockchain : ข้อมูลในระบบBlockchain นับว่ามีความโปร่งใส น่าเชื่อถือสูง สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา และมั่นคงปลอดภัยจากภัยไซเบอร์ เพราะจุดเด่นของ Blockchain ก็คือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลชุดเดียวกัน แต่ข้อมูลไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้ที่เดียว มีระบบ Consensus ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องรับทราบและยอมรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล3

Backbone ของธุรกิจFintech

        ความน่าสนใจของ Fintech มีมากก็จริง แต่หลายคนอาจจะยังกังวลอยู่ดีว่า การลงทุนใน Fintech ซึ่งมีหลายธุรกิจที่เป็น Startup นั้น จะเติบโตได้ในระยะยาวจริงหรือ? 

        ก็ต้องบอกว่าความจริงแล้ว Fintech ไม่ได้มีเพียงธุรกิจที่เพิ่งตั้งไข่มาในช่วงไม่กี่ปีนี้เท่านั้น เพราะมีอีกหลายธุรกิจที่คงอยู่มาอย่างยาวนาน และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่เป็น “Backbone” ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลอยู่เบื้องหลังธุรกรรมการเงิน เปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานของการโอนเงินบนโลก Digital

        ยกตัวอย่างเช่น Visa Inc. แพลตฟอร์มประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ผู้อยู่เบื้องหลังการชำระเงินผ่านบัตรเดบิตและเครดิตทั่วโลก โดยมีปริมาณการชำระเงินผ่าน Visa  กว่า 8.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี เชื่อมโยงกับเครือข่ายร้านค้าชั้นนำกว่า 40 ล้านราย ใน 200 ประเทศทั่วโลก ทำให้ Goldman Sachs คาดว่ากำไรสุทธิของบริษัท Visa จะเติบโตเฉลี่ย 18% ในระหว่างปี 2654 – 25664

        นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายธุรกิจที่เป็น “Backbone” ในรูปแบบแพลตฟอร์มประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งคนทั่วโลกน่าจะรู้จักกันดีอีกหลายบริษัท ยกตัวอย่างเช่น American Express, Mastercard เป็นต้น

        ไม่เพียงเท่านี้  ยังมี “Backbone” ซึ่งเป็นบริษัทด้านซอฟแวร์ ที่พัฒนาให้กับธุรกิจการเงินการธนาคารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากธุรกิจธนาคารดั้งเดิมไปยัง Digital Banking ที่ชื่อว่า Temenos บริษัทสัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ ผู้นําด้าน Software ที่ใช้ในธุรกิจการเงินการธนาคาร ซึ่งอยู่ในแวดวงธุรกิจนี้มากว่า 20 ปี มีลูกค้าทีเป็นองค์กรกว่า 3,000 รายทั่วโลกและมีลูกค้าซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่ใช้บริการเป็นจํานวนมากอีกด้วย

TFINTECH คัดธุรกิจเด่นสายนวัตกรรมการเงิน5

        เพื่อสร้างสรรค์ทางเลือกการลงทุนในธุรกิจแห่งอนาคตของโลก และเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้า ล่าสุด บลจ.ทิสโก้ได้เปิดเสนอขายกองทุนเปิด ทิสโก้ FinTech (TFINTECH) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมตราสารทุน เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF FinTech Fund ชนิดหน่วยลงทุน I2 USD (กองทุนหลัก) บริหารและจัดการโดย BlackRock (Luxembourg) S.A. เน้นลงทุนในบริษัทที่มีรายได้จากการประยุกต์เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน ลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาท เปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่ 21 - 29 กันยายน 2564 ทั้งนี้ กองทุนนี้กระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

        สำหรับจุดเด่นของกองทุน TFINTECH คือ กองทุนหลักบริหารจัดการโดย BlackRock บริษัทจัดการกองทุนที่มีขนาดใหญ่ชั้นนำของโลก โดยชนิดหน่วยลงทุน I2 USD จะมีค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการที่ค่อนข้างน่าสนใจกว่าชนิดหน่วยลงทุน D2 USD อีกทั้งกองทุนหลักจะเน้นลงทุนในธุรกิจการเงินที่ใช้ FinTech มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น ธุรกิจการชำระเงิน ธนาคารดิจิทัล สินเชื่อผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มดิจิทัล การลงทุนและตลาดหลักทรัพย์ ประกัน และซอฟต์แวร์ และ Outsourcing Solution เป็นต้น 

        โดยกองทุนหลักจะเน้นลงทุนหุ้นประมาณ 30 - 50 บริษัท แต่ละตัวมีน้ำหนักระหว่าง 1 - 5% โดยเปลี่ยนและปรับน้ำหนักการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ หากหุ้นที่ลงทุนขาดทุนเกิน 15% จะปรับน้ำหนักโดยการเพิ่มหรือ Cut Loss พร้อมทั้งหาโอกาสลงทุนในหุ้น IPO ที่มีรูปแบบการทำธุรกิจหรือมีความแข็งแกร่งในธุรกิจนั้นๆ อีกทั้งยังกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายประเทศอีกด้วย

โปรโมชั่นพิเศษ6

        สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินลงทุนในกองทุน TFINTECH ระหว่างวันที่ 21 - 29 กันยายน 2564 ตั้งแต่ 20 - 29.99 ล้านบาท จะได้รับทองคำหนัก 2 สลึง และยอดเงินลงทุนตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป รับทองคำหนัก 1 บาท (1 ท่าน ต่อ 1 สิทธิ์)  

        ทั้งนี้ กองทุนเปิด TFINTECH อาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในต่างประเทศ จึงมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม ผู้สนใจลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนรวม โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนที่ได้เปิดเผยไว้ที่ www.tiscoasset.com และสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ทิสโก้ หรือ ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ TISCO Contact Center โทร. 0 2633 6000 กด 4, 0 2080 6000 กด 4 และ www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds 

 

ที่มา

1.TISCO Asset Management (TFINTECH)

2.Press Release (IPO : TFINTECH)

3. www.bot.or.th 

4. Press Release (IPO : TFINTECH) 

5. Press Release (IPO : TFINTECH)

6. Press Release (IPO : TFINTECH)

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน