TH EN

โลกกำลังส่องสปอตไลท์ไปที่ “ธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์”

โพสต์เมื่อ 12 มีนาคม 2564 |
บทความโดย : นางวรสินี เศรษฐบุตร ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน และสื่อสารการตลาด สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้

สุนทรพจน์ของโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ว่า “เมื่อเอาชนะโควิดได้แล้ว เราจะทำทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อยุติมะเร็ง” หรือแม้กระทั่ง คำกล่าวของเคธี วูด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ARK Investment Management ที่แนะนำให้ “กระจายการลงทุนไปในธุรกิจไบโอเทค” กำลังชี้ให้เห็นว่า ผู้มีอิทธิพลด้านการเมือง และการลงทุนระดับโลก กำลังให้ความสนใจใน “ธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์”... ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ?!?!..

        

        ทั้ง โจ ไบเดน และเคธี วูด กำลังให้ความสนใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ “ธุรกิจนวัตกรรมทางการแพทย์” ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะ ธุรกิจนี้สามารถตอบโจทย์ในด้านการรักษาโรคร้ายแรง รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษาโรคได้ดีกว่าในอดีต แถมในด้านการเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน ก็มีความโดดเด่นอย่างมาก โดยเฉพาะใน 3 ธุรกิจดาวรุ่งของกลุ่ม ได้แก่ 1.Biotech Biophama 2.Digital และ 3.Medtech

 

"เจาะ 3 ธุรกิจเด่นด้านนวัตกรรมการแพทย์

        อันดับแรก อยากให้คุณทำความเข้าใจกับธุรกิจด้าน “Biotech และ Biophama” ก่อน เพราะธุรกิจนี้ มีความน่าสนใจตรงที่สามารถผลิตยารักษาโรคมะเร็ง หรือ Oncology ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาในอดีต และด้วยนวัตกรรมที่เพิ่มโอกาสรอดจากโรคร้ายได้ จึงทำให้ Oncology มีส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 25% ของยอดขายยาทั้งหมด และมีแนวโน้มที่เติบโตสูงถึง 12% เลยทีเดียว1

        ด้วยความสำเร็จนี้ จึงทำให้ธุรกิจ “Biotech และ Biophama” มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ เห็นได้จากส่วนแบ่งยอดขายยาในโลกปี 2012 ซึ่งธุรกิจไบโอเทคโนโลยี มีส่วนแบ่งการตลาด 20% แต่ปัจจุบันธุรกิจไบโอเทคโนโลยีมีส่วนแบ่งการตลาดถึงประมาณ 30% หรือเติบโตได้กว่า 90% ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา2

        ขณะที่ธุรกิจ “Digital และ Medtech” ซึ่งเป็นการผสานเทคโนโลยีทางด้านดิจิตอลกับเครื่องมือเข้ามาใช้ในด้านการแพทย์ รวมถึงนวัตกรรมด้านอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ เช่น การใช้ AI ในการช่วยวิเคราะห์ผลจากการตรวจวินิจฉัย การใช้เครื่องมืออัลตราซาวด์แบบพกพา การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด รวมถึงคลาวด์ที่ใช้เก็บข้อมูลทางการแพทย์ ก็ถือว่าเติบโตได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

        เห็นได้จากมูลค่าตลาดของธุรกิจ Digital Healthcare ซึ่งเป็นการผสานกันระหว่าง “Digital และ Medtech” นั้น มีแนวโน้มที่จะสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยในปี 2019 อยู่ที่ระดับ 106,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่มีการคาดการณ์กันว่า ในปี 2026 ธุรกิจทางด้าน Digital Healthcare จะสามารถขยายได้ถึง 639,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือสามารถเติบโตได้กว่า 28.5%3

 

"ผลตอบแทนธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์น่าสนใจแค่ไหน ?4

         ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2017-2021) อัตราการปรับตัวเพิ่มขึ้นของกลุ่มธุรกิจการแพทย์ดั้งเดิม หรือ Conventional Healthcare อย่างเช่น SPDR S&P Pharmaceutical ETF  ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มบริษัทผลิตยาเติบโต 27.97% เฉลี่ยปีละประมาณ 5% หรือ Health Care Select Sector SPDR Fund ที่เป็นตัวแทนของภาพรวมธุรกิจ Healthcare เติบโต 78.62% หรือเฉลี่ยปีละประมาณ 15% 

        ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ อย่าง SPDR S&P Healthcare Equipment ETF ที่เป็นตัวแทนของเครื่องมือทางการแพทย์และ SPDR S&P Biotech ETF ที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม Biotech ที่ขึ้นมาที่ 213.14% และ 232.17% ตามลำดับนั้น หรือเติบโตเฉลี่ยปีละกว่า 40% คุณก็จะเห็นความแตกต่างของโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ชัดเจนขึ้น

        

        ดังนั้น “คุณณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์” ผู้อำนวยการอาวุโสที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) จึงมองว่า การปรับเปลี่ยนการลงทุน จากเดิมที่เคยลงทุนใน “ธุรกิจการแพทย์ดั้งเดิม” ไปสู่ “ธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์” มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนให้เติบโตในระยะยาวได้อย่างน่าสนใจ

        มุมมองนี้ สอดคล้องกับความคิดของทั้ง เคธี วูด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ARK Investment Management ที่ให้ความสำคัญในธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ และสอดรับกับความตั้งใจของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ต้องการเพิ่มโอกาสในการพิชิตโรคร้ายอย่างมะเร็ง เพราะนั่นหมายถึงความต้องการในการใช้นวัตกรรมการแพทย์เพิ่มขึ้นนั่นเอง5

 

กองทุนรวมธุรกิจการแพทย์ดั้งเดิม VS กองทุนรวมธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์6

         จากข้อมูลของ Bloomberg จะพบได้ว่า เมื่อนำ “กราฟแท่งสีเทา” ที่แสดงอัตราผลตอบแทนของ “กองทุนรวมธุรกิจการแพทย์ดั้งเดิม” ซึ่งมีนโยบายลงทุนในกองทุนหลักต่างประเทศ (Master Fund) มาเปรียบเทียบกับกลุ่มกองทุนรวมธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ ซึ่งมีนโยบายลงทุนในกองทุนหลักต่างประเทศ โดยแบ่งออกเป็น กองทุนรวมธุรกิจด้าน Biotech (กราฟแท่งสีน้ำเงิน) และ กองทุนรวมธุรกิจ Digital Healthcare (กราฟแท่งสีแดง) 

        ก็จะพบได้ว่ากราฟแท่งสีแดงและสีน้ำเงินนั้น ปรับตัวสูงกว่า กองทุนรวมธุรกิจการแพทย์ดั้งเดิมอย่างชัดเจน และปรับตัวสูงกว่าเมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนของดัชนีตลาดหุ้นไทย ซึ่งไม่มีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (กราฟแท่งสีเขียว) ด้วย …

        หรือสรุป ก็คือ กองทุนรวมธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ ให้ผลตอบแทนที่เหนือกว่ากองทุนรวมธุรกิจการแพทย์ดั้งเดิม และ SET Index ทั้งในช่วง 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี และนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน

 

 

ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

3 กองทุนนวัตกรรมการแพทย์ที่โดดเด่น

        เล่ามาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสนใจกองทุนรวมนวัตกรรมทางการแพทย์บ้างแล้ว “คุณวรสินี เศรษฐบุตร” ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์กองทุน และสื่อสารการตลาด สายธุรกิจธนบดี ธนาคารทิสโก้ ได้เลือกกองทุนเด่นไว้ด้วยกัน 3 กองทุน ได้แก่

         กองทุนเปิด ยูไนเต็ด ไชน่า เฮลท์แคร์ อินโนเวชั่น ฟันด์ (UCHI) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมตราสารทุน เน้นลงทุนในธุรกิจเฮลธ์แคร์ ของประเทศจีน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากการพัฒนานวัตกรรมด้านเฮลธ์แคร์ (Healthcare Innovation) ของประเทศจีน เช่น การพัฒนาและค้นคว้าด้านเภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ การบริหาร สถานพยาบาล การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบไอทีด้านการดูแลสุขภาพ เป็นต้น 

        ทั้งนี้ สาเหตุที่ให้ความสนใจ “ประเทศจีน” เป็นอันดับต้นๆ เป็นเพราะธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ของจีน มีการเติบโตที่โดดเด่นอย่างมาก โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์จีนมีอัตราการเติบโตสูงกว่า 10% ขณะที่สหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตที่ประมาณ 3%7

        ไม่เพียงเท่านี้ ปัจจุบันทางประเทศจีนยังได้ทุ่มงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ยาอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้มีการอนุมัติตัวยาใหม่ๆ ต่อเนื่อง กระทั่งล่าสุดในปี 2562 ได้มีการอนุมัติตัวยาแซงหน้าสหรัฐฯ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

        นอกจากนี้แนะนำ กองทุนเปิด ทิสโก้ โกลบอล ดิจิตอล เฮลธ์ อิควิตี้ (TGHDIGI) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุน CS (Lux) Global Digital Health Equity ชนิดหน่วยลงทุน IB USD (กองทุนหลัก) เน้นลงทุนในบริษัทที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการแพทย์ (Digital Health) ทั่วโลก 

         และ กองทุนเปิด ทิสโก้ ไบโอเทคโนโลยี เฮลธ์แคร์ (TBIOTECH) ความเสี่ยงระดับ 7 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมตราสารทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) การวินิจฉัยโรค (Diagnostics) และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต (Life Sciences Tools) ทั่วโลกผ่านกองทุน Polar Capital Funds plc - Biotechnology ชนิดหน่วยลงทุน I US Dollar (กองทุนหลัก) 

        อย่างไรก็ตาม กองทุนเปิด UCHI TGHDIGI และ TBIOTECH ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก และอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในต่างประเทศ จึงมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม 

        ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ TISCO Contact Center โทร. 02-633-6000 กด 2 กด 4

 

อ้างอิง:

1EvaluatePharma,June 2020

2EvaluatePharma,June 2020
3gminsights.com

4Yahoo Finance (As of 3 Feb 21)

5www.cnbc.com/video/2021/02/17/arks-cathie-wood-on-deep-value-stocks.html, www.cnbc.com : Biden says U.S. will seek to ‘end cancer as we know it’ after Covid pandemic

6Bloomberg

7UOBAM, KraneShares, Global X, Office of Commercial Affairs, Royal Thai Consulate-General Shanghai

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน