TH EN

เจาะธุรกิจ “แร่หายาก โอกาสที่ฝังตัวในสินค้าเทคโนโลยี

โพสต์เมื่อ 21 มีนาคม 2565 | บทความโดย : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้

“แร่หายาก” ดูเหมือนเป็นคำที่ไกลตัวสำหรับคนส่วนใหญ่ หรือบางคนอาจรู้สึกคุ้นเคยกับแร่เหล่านี้ในตารางธาตุที่ต้องท่องสมัยมัธยมเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วแร่หายากได้ฝังตัวอยู่ในเทคโนโลยีที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน แถมยังสามารถใช้เป็นข้อต่อรองในสงครามการค้าได้อีกด้วย ...แร่หายากจึงสำคัญ จนทำให้ธุรกิจเกี่ยวข้องน่าสนใจ

        “แร่หายาก มีอิทธิพลต่อโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต” นั่นก็เป็นเพราะ แร่ในกลุ่มนี้ เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด ไปจนถึงเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม จึงทำให้ประเทศจีน ซึ่งครอบครองปริมาณสำรองแร่หายากมากที่สุดในโลกถึง 44 ล้านตัน และยังผลิต Rare earth ได้ถึง 62% ของการผลิตโลก (ข้อมูล ณ ปี 2562) กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลในแร่ชนิดนี้ทันที

        ที่สำคัญมีการคาดการณ์ว่าประเทศจีนมีโอกาสที่จะใช้ความได้เปรียบนี้ เป็นข้อต่อรองสำคัญในสงครามการค้า เพื่อตอบโต้ยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาได้1 นั่นเป็นเพราะสหรัฐอเมริกา เอง ก็มีความต้องการใช้แร่ดังกล่าวอย่างมาก ไม่ใช่เพียงอุตสาหกรรมในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังสำคัญอย่างยิ่งสำหรับอาวุธทางทหารอีกด้วย2

        นี่คือพลังของแร่หายากที่มีต่อโลก ...ตอนนี้คุณอยากรู้จักแร่หายากมากขึ้นหรือยัง???

Rare Earth... แร่หายาก คืออะไร ?

        แร่หายาก (Rare Earth) ความจริงแล้วก็คือ กลุ่มแร่ธาตุ 17 ชนิด ที่เรียกว่า กลุ่มธาตุแลนทาไนด์ และกลุ่มโลหะทรานซิชัน โดยสาเหตุที่เรียกว่าเป็นแร่หายาก ไม่ได้เป็นเพราะว่าแร่เหล่านี้หายากหรือมีน้อย แต่เป็นเพราะสินแร่ที่พบในบริเวณเปลือกโลกเหล่านี้มักจะไม่รวมกลุ่มอยู่ในที่เดียวกัน และการสกัดแร่ชนิดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย จึงทำให้ยากต่อการสร้างเหมืองเพื่อขุดเจาะทำเหมืองแร่ชนิดนี้

        โดยวิธีการถลุงแร่แรร์เอิร์ธแบบคร่าวๆ ก็คือ ต้องถลุงและสกัดเอาสารบริสุทธิ์จากแร่ เพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่า ออกไซด์ของโลหะ ก่อนที่จะเอาออกไซด์มาบดเป็นผง และแยกออกมาเป็นชนิดต่างๆ กัน แล้วนำไปจำหน่ายในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ3 ดังนั้นกระบวนการอันแสนยากลำบากทั้งหมดนี้ จึงทำให้แร่กลุ่มดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็นแร่หายากนั่นเอง

ทั่วโลกมีแนวโน้มใช้ Rare Earth สูง

        ปัจจุบันทั่วโลกใช้แร่หายากในหลายอุตสาหกรรม ทั้งในแง่การใช้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญ หรือใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalysts) เพราะแร่ชนิดนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่ดี

        ดังนั้น จึงทำให้แร่หายากสามารถนำไปดัดแปลงใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงประเภทสายใยแก้วนำแสง ไปจนถึงรถพลังงานไฟฟ้า ทีวีจอแบน กระจกควบคุมความร้อน เลนส์กล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์ กังหันลม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น คอมพิวเตอร์พกพา โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในรถยนต์ ตลอดจนขีปนาวุธ และยุทธปัจจัยก็มีการใช้แร่ชนิดนี้

        ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ปริมาณความต้องการใช้แร่หายากเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020 และคาดว่าจะมีความต้องการที่ขยายตัวต่อไปจนถึงปี 20304

 

 

        อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า แร่หายากส่วนใหญ่ได้ใช้ในการผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent magnets) สำหรับกังหันลม และมอเตอร์ไฟฟ้าในรถยนต์เป็นสัดส่วนที่สูงมาก ซึ่งความต้องการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าดังกล่าว ยังคงมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นสูงทุกปี และเป็นความต้องการสูงกว่ากำลังการผลิตอีกด้วย 5

        และประเด็นบวกที่ต่อเนื่องยาวนานนี้เอง จึงทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแร่หากยาก มีความน่าสนใจ

“TRAREEARTH” รวมดาวรุ่งกลุ่มธุรกิจเกี่ยวข้องแร่หายาก6

        นายสาห์รัช ชัฏสุวรรณ ผู้อำนวยการสายการตลาด และที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า เพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสลงทุนในธุรกิจที่เป็นที่ต้องการของโลกแห่งอนาคต บลจ.ทิสโก้เปิดเสนอขายกองทุนเปิด ทิสโก้ Rare Earth & Strategic Metals (TRAREEARTH) ความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง) กองทุนรวมตราสารทุน เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต การขุดเหมืองแร่ การถลุงและรีไซเคิลแร่หายาก (Rare Earth) และ/หรือ แร่โลหะที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Strategic Metals) ทั่วโลก ผ่านกองทุนรวมอีทีเอฟอย่างน้อย 2 กองทุน

        เสนอขายครั้งแรก (IPO) 23 มีนาคม - 7 เมษายน 2565 ทั้งนี้ กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Materials จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

        สำหรับตัวอย่างบริษัทที่กองทุนหลักเข้าไปลงทุน เช่น Pilbara Minerals บริษัทเหมืองแร่ Lithium รวมไปถึงการ กลั่นแร่ชั้นนำของออสเตรเลีย เพื่อผลิต Lithium Battery ของรถยนต์ไฟฟ้า มีรายได้และการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังมีพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง เช่น CATL ผู้ผลิตสารประกอบลิเธียมรายใหญ่ที่สุดของจีน Ganfeng Lithium ผู้ผลิตโลหะลิเทียมที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของจีนและอันดับ 3 ของโลก เป็นต้น

        ตัวอย่างต่อมาคือ Contemporary Amperex Technology Co. (CATL) บริษัทแบตเตอรี่รายใหญ่ของจีน เชี่ยวชาญด้านการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงาน และระบบการจัดการแบตเตอรี่ มีลูกค้ารายใหญ่อย่าง BMW, Volkswagen, Mercedes – Benz และ Apple และยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ TESLA ในจีน นอกจากนี้ ในปี 2564 CATL ยังครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ของโลกและครองมูลค่าตลาดอันดับ 1 ในกลุ่ม Hard Tech จีน อีกด้วย

        ตัวอย่างสุดท้ายคือ Lynas Rare Earths บริษัทขุดแร่หายากของออสเตรเลีย ผู้ผลิต Rare Earths ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกซึ่งอยู่นอกประเทศจีน ผลกำไรงวดครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2563 - 2565 เติบโตเฉลี่ย 534% ต่อปี และยังควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

        พิเศษสำหรับลูกค้าที่มียอดเงินลงทุนในกองทุน TRAREEARTH ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม - 7 เมษายน 2565  ตั้งแต่ 20 - 29.99 ล้านบาท รับทองคำหนัก 2 สลึง และยอดเงินลงทุนสะสมตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป รับทองคำหนัก 1 บาท (1 สิทธิ ต่อ 1 ท่าน) ต่อที่สอง สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดาที่ลงทุนกองทุน TRAREEARTH ผ่านช่องทาง eInvest และ TISCO My Funds ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม - 7 เมษายน 2565 ทุกๆ ยอดเงินลงทุนสะสม 50,000 บาท รับหน่วยลงทุนกองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรระยะสั้น (TISCOSTF) มูลค่า 100 บาท สูงสุด 1,000 บาท

        กองทุนเปิด TRAREEARTH อาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในต่างประเทศ จึงมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม ผู้สนใจลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนรวม โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนที่ได้เปิดเผยไว้ที่ www.tiscoasset.com และสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ. ทิสโก้ หรือ ธนาคารทิสโก้ทุกสาขา หรือ TISCO Contact Center โทร. 0 2633 6000 กด 4, 0 2080 6000 กด 4 และ www.tiscoasset.com หรือ แอปพลิเคชัน TISCO My Funds

ที่มา

1. "จีนเร่งพัฒนาแหล่งแร่หายาก หวังมีชัยเหนือสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา” (TNN ,Jan 2022 : https://www.tnnthailand.com/news/world/100994/)

2.,3. “Rare earth ในสงครามการค้าสหรัฐอเมริกา-จีน” (กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้, 5 feb 2021 : https://aspa.mfa.go.th/th/content/rare-earth-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99?page=5d6abf1d15e39c0648002041&menu=5d6abf1c15e39c0648001fc9)

4. “Rare Earth Demand in Clean Energy” ( BloombergNEF, Sep. 2020)

5. “China frictions steer electric automakers away from rare earth magnets” (Reuters ,July 2021 : www.reuters.com/business/autos-transportation/china-frictions-steer-electric-automakers-away-rare-earth-magnets-2021-07-19/)

 6. “บลจ.ทิสโก้เปิดกองทุน TRAREEARTH ลงทุนธุรกิจแร่หายาก หัวใจหลักของสินค้านวัตกรรมทั่วโลก” (Press Release, 23 Mar 2022)

© สงวนลิขสิทธิ์ 2561 ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน